
ประวัติหมู่บ้าน ตำบลดอยงาม
Village History , Tambon Doi Ngam
หมู่ที่ 12 บ้านป่าตึง
Moo.12 , Ban Pa Tueng
บริบทชุมชน
บ้านป่าตึงหมู่ที่ 12 ได้แยกออกจากการปกครองของหมู่บ้านสันทรายหมู่ที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2544 มีครัวเรือนทั้งหมด 84 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 290 คน อาชีพหลักหรือจุดแข็งของหมู่บ้านป่าตึง คือการทําการเกษตรซึ่งมีการทําการเกษตรปีละ 2 ครั้ง โดยเป็นการทํานาปรัง มีประเพณีภายในหมู่บ้าน เช่น การจัดทํา
ก๋วยสลาก การบวงสรวงพ่อปู่ และการสรงน้ําพระธาตุของหมู่บ้านโดยมีการจัดทําเป็นประจําทุกปี
บ้านป่าตึงจัดเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจัดทําขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2550 โดยเป็นการรวมกลุ่มภายในหมู่บ้าน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของบ้านป่าตึงมีบ้านตัวอย่าง 2 บ้านโดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมบ้านตัวอย่างได้ มีการจัดตั้งกลุ่มและทํากิจกรรมคือการแยกขยะ การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มการทําน้ําพริก กลุ่มการทําไข่เค็ม และกลุ่มพรมเช็ดเท้า โดยมีการสนับสนุนจากกรมพัฒนาชุมชนของอําเภอพาน และมีการออมเงินภายในหมู่บ้านเพื่อใช้สําหรับกิจกรรมภายในหมู่บ้าน การจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการลดรายจ่ายเสริมรายได้ ให้กับคนในชุมชน ผลผลิตที่ได้จากการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เช่นไข่เค็ม ไข่ไก่ จะมีการขายตามร้านค้าต่างๆ มีการขายส่ง และขายปลีก ซึ่งเป็นการทําการตลาดของหมู่บ้านเพื่อเป็นการเสริมอาชีพกับคนในชุมชน
ปราชญ์ชุมชน
นางสุพรรณ แก่นแก้ว (รองประธานในกลุ่มน้ําพริกลาบ แกงเผ็ด แกงอ่อม)
ที่มาของกลุ่มน้ําพริกลาบ แกงเผ็ด แกงอ่อม คือทาง อําเภอพานได้เล็งเห็นถึงการมีอาชีพมากกว่าการปลูกพริกขาย จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับแม่บ้านที่ว่างงาน โดยมีการนําวิทยากรมาให้ความรู้ ในการแปรรูปสินค้าการเกษตรเพื่อการจําหน่าย จึงมีการจัดตั้งเป็น กลุ่มน้ําพริก โดยสมาชิกกลุ่มมีจํานวน 50 คน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็น แม่บ้านหรือคนว่างงาน เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน
ของดีประจำหมู่บ้านป่าตึง
ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน
ในสมัยบรรพบุรุษ เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้กันมักจะทำมาจากไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำนาคนในสมัยก่อนจะทำการจักสานของใช้ที่ทำจากไม้ไผ่ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีการผลิตของใช้ที่ทำจากพลาสติกมากขึ้นแต่ก็ยังมีการสืบทอดการทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่อยู่ เพื่อเป็นการสืบทอดงานฝีมือจากบรรพบุรุษทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
ปัจจุบัน นายเงิน ดวงวรรณณา อยู่บ้านเลขที่ 190 หมู่ 12 ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นผู้สืบทอดารจักสาน และยังมีการเปิดสอนผู้ที่สนใจและลูกหลาน ให้ได้รู้จักการทำและมีการปรับปรุงประยุกต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้ในปัจจุบัน
หมู่ที่ 13 บ้านแม่หนาด
Moo.13 , Ban Mae Nat
บริบทชุมชน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายบัณฑิต เชื่อลื่อ หมู่บ้านแม่หนาดเป็นหมู่บ้านพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ําหลายสายบรรจบรวมกันทําให้มีความอุดมสมบูรณ์ทางน้ํา ซึ่งเป็นผลดีต่อการทําการเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ของของคนในชุมชนคือ เกษตรกรประมาณร้อยละ 90 ที่เหลือทําอาชีพรับจ้างทั่วไป การจัดตั้งกลุ่มเป็นการจัดตั้งภายในหมู่บ้านประมาณ 4-5 ปี มีการขึ้นทะเบียนกับสํานักงานการเกษตร มีกลุ่มวิสาหกิจ 2 กลุ่ม คือกลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มเลี้ยงวัว ซึ่งผลดีของการจัดตั้งกลุ่ม คือการลดเงินทุนในการทําการเกษตร และกําไรของผลผลิตทางการเกษตรมีความชัดเจน มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร
ประเพณีภายในหมู่บ้าน เป็นประเพณีทั่วไปของภาคเหนือ เช่นประเพณีการกินสลาก ประเพณีใจบ้าน การรดน้ําดําหัวผู้สูงอายุเป็นต้น
ของดีประจำหมู่บ้านแม่หนาด
ปัจุปุ๋ยหมักชีวภาพ
กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ บ้านแม่หนาด ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 15 ปี จากการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งเล็งเห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลานาน ทำให้ดินแข็งกระด้าง และปุ๋ยเคมีมีราคาแพงขึ้น จึงคิดที่จะปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมีชีวภาพ
จากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ได้แบ่งปุ๋ยให้สมาชิกบางส่วนที่เหลือได้นำออกจำหน่ายให้แก่เกษตรกรทั่วไป กิโลกรัมละ 3 บาท การดำเนินงานมา 15 ปี เราได้สร้างโรงเรือนปุ๋ยหมักให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และในอนาคตข้างหน้าเรามีโครงการที่จะทำปุ๋ยหมักอัดเม็ดอีกด้วย
หมู่ที่ 14 บ้านสารภี
Moo.14 , Ban Saraphi
ปราชญ์ชุมชน
พ่อเรือน นะกะวงค์(ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดนตรี)
ที่มาของการเล่นดนตรีของ พ่อเรือน นะกะวงค์ มาจากการฟัง และการสังเกต เพราะว่าในสมัยก่อนยังไม่มีการสอนในเรื่องของดนตรี โดยใช้วิธีการจําเสียง จําทํานองเป็นส่วนใหญ่ จนตอนนี้เล่นมาเป็นเวลา 20 กว่าปี ในสมัยก่อนจะออกงานแห่หรืองานทั่วไป และนําความรู้ไปสอนนักเรียนที่โรงเรียน เล่นเครื่องดนตรีที่เล่นได้จะมี ขลุ่ย สะล้อ ซึง และระนาด โดยระนาดจะไปฝึกเล่นที่วัด พอเล่นได้จึงมาเป็นอาชีพนักดนตรีพื้นเมือง ที่เล่นดนตรีไปตามงานต่าง ๆ โดยมีการรวมกลุ่มเป็นวงดนตรีขึ้นมา
นอกจากนี้ยังทําเครื่องดนตรีขายเลี้ยงชีพตน แต่ตอนนี้อายุมากแล้วจึงได้หยุดทําไป อยากให้ผู้ที่สนใจมาอนุรักษ์ไว้เพื่อจะได้ไม่สูญหาย
ของดีประจำหมู่บ้านสารภี
ขนมข้าวซอยตัด
นางทศริน เป็งเมืองมูล เริ่มต้นการทำขนมข้าวซอยตัด โดยได้รู้จักกับคนทำขนม ซึ่งเป็นต้นตำหรับจากประเทศลาว ซึ่งมาอาศัยอยู่ในไทย ที่อำเภอแม่สาย จึงซื้อสูตรและวิธีการทำมา หลังจากทำมาได้สักระยะก็มีการขอทุนจากกลุ่มพัฒนาสตรี เพื่อมาทำการต่อยอด และได้มีกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาช่วยในการส่งเสริมการตลาด