top of page

ประวัติหมู่บ้าน ตำบลดอยงาม

Village History , Tambon Doi Ngam

IMG_0285_edited.jpg

หมู่ที่ 1 บ้านสันทราย

บ้านสันทราย จัดเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง
โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร
จุดเด่นของบ้านสันทรายคืองานฝีมือด้านการแกะสลักไม่ว่าจะเป็นงานแกะสลักภายในวัด เช่น ประตูวัด หน้าต่างวัด ภายในวิหาร

และโบสถ์ เป็นต้น

IMG_0148_edited.jpg

หมู่ที่ 2 บ้านจำคาวตอง

ผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านจำคาวตอง

มีภูมิลำเนาเดิมคือจังหวัดลำพูน และได้ย้ายมายังหมู่บ้านจำคาวตอง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2464 มีประชากร 470 คน ปัจจุบันมีทั้งหมด 125 ครัวเรือน บ้านจำคาวตองเป็นหมู่บ้านที่แบ่งออกเป็นส่วน

เนื่องจากบ้านแต่ละหลังไม่ได้อยู่ห่างกัน

ประมาณ 150-200 เมตร

IMG_0014.HEIC

หมู่ที่ 3 บ้านสันผักเฮือด

บ้านสันผักเฮือด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ดังนั้นสำนักงานเกษตรอำเภอพาน และสำนักงานเกษตร

จังหวัดเชียงราย จึงได้มอบงบประมาณ

ให้สำหรับปุ๋ย พันธุ์ข้าว และยกให้เป็นหมู่บ้านนำร่องขยายพันธุ์ข้าว

IMG_0099.HEIC

หมู่ที่ 4 บ้านสันหนองควาย

บ้านสันหนองควาย ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2469 มีชาวลำพูนประมาณ 7 ครอบครัว อพยพเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ได้เข้ามาพบสันดอน

ที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงควาย จึงเป็นที่มาของการตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า 

หมู่บ้านหนองควายหลวง 

Moo.1-4
LINE_ALBUM_ของดี ม_1_edited_edited.jpg

หมู่ที่ 5 บ้านท่าดอกแก้ว

บ้านท่าดอกแก้ว เป็นประชากรที่อพยพมาจากจังหวัดลำพูน และได้มาก่อตั้งหมู่บ้าน

ท่าดอกแก้ว ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 150 ครัวเรือน โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำนา ทำสวน เกษตรกรรม เกษตรกร เลี้ยงปลา

พืชที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันคือ มะระ ถั่ว พริก

IMG_0406.HEIC

หมู่ที่ 6 บ้านสันมะกอก

บ้านสันมะกอก มีถิ่นฐานมาจาก จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ที่อพยพมาเมื่อนาน

มาแล้ว จึงทำให้มีสำเนียงการพูด

เป็นสำเนียงเชียงใหม่ ในปัจจุบันชาวบ้าน

สันมะกอกมีอาชีพที่ติดตัวมาจากเชียงใหม่ คือ ประติมากรรมปูนปั้น และเครื่องปั้นดินเผา

IMG_0442.HEIC

หมู่ที่ 7 บ้านสันช้างตาย

บ้านสันช้างตาย แต่เดิมพื้นเพเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน อพยพมา อาชีพของ

ชาวบ้านสมัยก่อนทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
ปัจจุบันค้าขายพรมเช็ดเท้า บางส่วนออกไปทำงานต่างจังหวัด ประเพณีของหมู่บ้าน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์มีการรดน้ำดำหัว

ผู้เฒ่าผู้แก่

IMG_0515_edited.jpg

หมู่ที่ 8 บ้านหนองหมด

บ้านหนองหมดมีกลุ่มอาชีพหลัก 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มวิสาหกิจทำสุรา 2.กลุ่มเพาะเห็ด

3.กลุ่มทำพรมเช็ดเท้า 4. กลุ่มเลี้ยงโค
กลุ่มทำสุรานี้ เนื่องจากสมัยก่อนข้าวมีราคาตกต่ำจึงพยายามหาวิธีการแปรรูปข้าว
ด้วยการนำข้าวมาหมัก แล้วทำเป็นสุราขาวเพราะสามารถเก็บได้นานกลุ่มเห็ด

 

Screenshot_2021-04-27-12-30-56-847_com.google.android.apps.docs.png

หมู่ที่ 9 บ้านสันกำแพง

แม่ศรีนวล อิ่นแก้ว ในการเริ่มต้นเป็น

หมอนวด เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นแม่ค้าแล้วประสบอุบัติเหตุทำให้ขาหักเลยทำงานไม้ได้

อยู่พักหนึ่ง จึงมีการไปฝึกนวดที่กรุงเทพฯ
ในระหว่างนั้นการหัดนวดจึงไปเรียนที่โรงเรียนมีนบุรีศึกษาเพื่อรับใบประกอบ
วิชาชีพตามที่กระทรวงมีนโยบายให้หมอนวดต้องมีใบประกอบวิชาชีพด้วย

LINE_ALBUM_ของดี ม_0.10 บ้านสันธาตุ_220429.jpg

หมู่ที่ 10 บ้านสันธาตุ

บ้านสันธาตุ หมู่ 10 แยกออกมาจากบ้าน

จำคาวตอง หมู่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2535

อาชีพส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ส่วนอาชีพเสริมคือ การจักสาน จุดเด่นในหมู่บ้าน คือ มีกลุ่มจักสาน และเย็บพรมเช็ดเท้า วัฒนธรรม

มีพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ที่วัดสันธาตุ

3.jpg

หมู่ที่ 11 บ้านสันโค้ง

บ้านสันโค้งมีทั้งหมด 120 หลังคาเรือน

มีอาชีพหลัก คือการทำนา มีอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ทำพรมเช็ดเท้า
และรับจ้างทั่วไปเป็นต้น เป็นหมู่บ้านที่มี

พื้นที่ราบเหมาะกับการทำนาปลูกพืชสวน
จุดเด่นและกลุ่มอาชีพของหมู่บ้านสันโค้งคือ วัดสันโค้ง กลุ่มอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มเย็บพรมเช็ดเท้า มีประเพณีรดน้ำดำหัว 

Moo.5-7
Moo.8-11
รูปภาพ1_edited.jpg

หมู่ที่ 12 บ้านป่าตึง

บ้านป่าตึงหมู่ที่ 12 ได้แยกออกจากการปกครองของหมู่บ้านสันทรายหมู่ที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีครัวเรือนทั้งหมด 84 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 290 คน อาชีพหลักหรือจุดแข็งของหมู่บ้านป่าตึง คือ การทำการเกษตรซึ่งมีการทำการ เกษตรปีละ 2 ครั้ง โดยเป็นการทำนาปรัง

2.jpg

หมู่ที่ 13 บ้านแม่หนาด

หมู่บ้านแม่หนาด เป็นหมู่บ้านพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายบรรจบรวมกัน ทำให้มี ความอุดมสมบูรณ์ทางน้ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำการเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ของคน ในชุมชน คือ เกษตรกรประมาณร้อยละ 90 ที่เหลือทำอาชีพรับจ้างทั่วไป

 

รูปปก_edited.jpg

หมู่ที่ 14 บ้านสารภี

ที่มาของการเล่นดนตรีของ พ่อเรือน กะนะวงศ์
มาจากการฟังและการสังเกต
เพราะว่าในสมัยก่อนยังไม่มีการสอน

ในเรื่องของดนตรี โดยใช้วิธีการจำเสียง
จำทำนองเป็นส่วนใหญ่ จนตอนนี้เล่นมาเป็นเวลา 20 กว่าปี ในสมัยก่อนจะออกงานแห่หรืองานทั่วไป และนำความรู้ไปสอนนักเรียน

Moo.12-14
bottom of page