top of page

ประวัติหมู่บ้าน ตำบลดอยงาม

Village History , Tambon Doi Ngam

หมู่ที่ 8 บ้านหนองหมด

Moo.8 , Ban Nong Mot

บริบทชุมชน

บ้านหนองหมดมีกลุ่มอาชีพหลัก 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มวิสาหกิจทําสุรา 2 .กลุ่มเพาะเห็ด 3. กลุ่มทําพรมเช็ดเท้า 4. กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มทําสุรานี้ เนื่องจากสมัยก่อนข้าวมีราคาตกต่ําจึงพยายามหาวิธีการแปรรูปข้าวด้วยการนําเอาข้าวมาหมัก แล้วทําเป็นสุราขาว เพราะสามารถเก็บได้นานกลุ่มเห็ด ในการเพาะเห็ดมีผลกระทบอยู่บ้างเนื่องจากชาวบ้านไม่ได้เพาะเห็ดในโรงเรือน กลุ่มพรมเช็ดเท้าปัญหาคือ ราคาขายค่อนข้างต่ํา ขายได้กําไรน้อ

ปราชญ์ชุมชน

นายสําอางค์ธรรมโก (กํานันผู้ใหญ่บ้าน และผู้นํากลุ่ม

วิสาหกิจทําสุรา พื้นบ้าน)

กลุ่มวิสาหกิจทําสุราพื้นบ้าน ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2548 เนื่องจาก ในช่วงนั้นข้าวมีราคาต่ํา ได้มีการพยายามหาวิธีที่จะแปรรูปข้าวให้มีราคาที่มากขึ้น จึงได้วิธีการนําข้าวมาหมักแล้วทําเป็นสุราขาว ในการทํา กลุ่มนี้ยังพอมีตลาดที่จะรองรับอยู่บ้าง และหากขายสุราขาวไม่ได้ ก็ยังสามารถเก็บไว้ได้ นานกว่าเมล็ดข้าว ในปัจจุบันกลุ่มยังขาดตลาดรองรับ ส่งขายได้ไม่มาก เนื่องจากฉลากของผลิตภัณฑ์อาจจะยังไม่มีความดึงดูดลูกค้ามากพอ

Moo.8

ปราชญ์ชุมชน

นายมานนท์ ธิชมพู (เจ้าของศูนย์การเรียนรู้หอมแผ่นดินดอยงาม)

ประวัติการต่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2559 จุดเริ่มต้นของศูนย์การเรียนรู้หอมแผ่นดินที่ตําบลดอยงาม เดิมนายมานนท์ เคยทํางานเป็นเชฟอาหารไทย อยู่ร้านอาหารที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมาได้คิด อยากกลับบ้านเกิด จึงได้เกิดความคิดเรื่อง ศูนย์การเรียนรู้หอมแผ่นดินตามโครงการหอมแผ่นดิน เพื่อตามแนวพระราชดําริพอเพียง เพื่อที่จะกลับมาสร้างประโยชน์เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน จึงได้สร้างศูนย์การเรียนรู้ หอมแผ่นดินที่ตําบลดอยงามในเวลาต่อมา

เพื่อเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านในเรื่องของการดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างไรให้มีความมั่นคง และสามารถอยู่ได้อย่างสุข สบายพ่อแม่ลูกหลานอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา และสร้างรายได้ขณะที่กลับมาอยู่ ในชุมชนชนบท ขณะนี้ศูนย์การเรียนรู้หอมแผ่นดินดําเนินการโดย นายมานนท์ เพียงคนเดียว และมีแผนจะที่จดวิสาหกิจชุมชน ร่วมกับคนในชุมชนภายในปี พ.ศ.2564 เพื่อพัฒนากลุ่มให้ขยายใหญ่ขึ้นและในขณะมีผู้คนให้ความสนใจจํานวนมาก เนื่องจากหอมแผ่นดินประสบความสําเร็จในเรื่องของการสร้างผลิตภัณฑ์เช่น ข้าว ไข่ ที่มีคุณภาพ คนบ้านใกล้เรือนเคียงเห็นว่า ได้ขายดีมี ราคาสูง จึงมีความสนใจ และอยากได้ศูนย์การเรียนรู้หอมแผ่นดิน เป็นต้นแบบ

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักที่หอมแผ่นดินได้ดําเนินการอยู่ มีกลุ่มการเกษตร คือการปลูกข้าวอินทรีย์ ข้าวที่ปลูกโดยที่ไม่ใช้สารเคมีในการปลูก ตลอด 5 ปี เกษตรแปรรูป เช่น ข้าว กล้วย ผัก ต่างๆ มาแปรรูปขาย ภายใต้ แบรนด์ลําลํา และใช้แบรนด์ของลําลําสร้างผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และมีโฮมสเตย์ ไว้รับรองแขก

 

อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับชุมชน และผู้ที่ต้องการมาศึกษาความรู้หอมแผ่นดินในเรื่องด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร เทคโนโลยีการแปรรูป และแนวคิดต่างๆ ในการดําเนินชีวิตให้กับผู้ที่สนใจ

ของดีประจำหมู่บ้านหนองหมด

วิสาหกิจ กลุ่มเพาะเห็ด

จากการเริ่มต้นประมาณปี 2560 จากการเริ่มเรียนรู้จากกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโป่งทะลาย ตำบลแม่อ้อ โดยครั้งแรกเริ่มหาอุปกรณ์ที่จำเป็น และพัฒนาเรียนรู้ในแหล่งต่างๆ และหาแหล่งตลาดที่ๆมีความต้องการสินค้า ค่อยเป็นค่อยไปและศึกษาความเป็นไปได้ ในด้านการเงินได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความรู้แนะนำ

การดูงานในที่ต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลในการพัฒนาเรียนรู้ และมีคณะนักเรียนนักศึกษาคอยมาแนะนำในการทำอย่างละเอียดทุกขั้นตอน (มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา)

หมู่ที่ 9 บ้านสันกําแพง

Moo.9 , Ban San Kamphaeng

ปราชญ์ชุมชน

แม่ศรีนวล อิ่นแก้ว (ผู้มีความรู้ด้านการนวดแผนไทย)

ในการเริ่มต้นเป็นหมอนวด เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นแม่ค้า แล้วประสบอุบัติเหตุ ทําให้ขาหักเลยทํางานไม้ได้อยู่พักหนึ่ง จึงมีการไปฝึกนวดที่ กรุงเทพฯ ในระหว่างนั้นการหัดนวดจึงไปเรียนที่โรงเรียนมีนบุรีศึกษา เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพ ตามที่กระทรวงมีนโยบายให้หมอนวดต้องมีใบประกอบวิชาชีพด้วย และเป็นหมอนวดอยู่ที่ กรุงเทพฯ นานพอสมควร หลังจากนั้นคิดว่านวดเป็นแล้ว เก่งแล้ว และด้วยกับอายุมากแล้วจึงกลับภูมิลําเนา เปิดร้านนวดอยู่บ้านในปี พ.ศ.2552 ตั้งแต่เปิดร้านนวดมีคนมาเรียนรู้การนวดด้วย 2 คน พอนวดเป็นแล้วก็จากไปทํางานที่อื่น

Moo.9

ของดีประจำหมู่บ้านสันกำแพง

พรมเช็ดเท้า

กลุ่มเย็บพรมเช็ดเท้า ก่อตั้งเมื่อเดือน มีนาคม 2565 มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน โดยมีนางผกาพันธ์ คำแก้ว เป็นประธานกลุ่ม ที่ตั้งกลุ่มอยู่ที่บ้านเลขที่ 234 หมู่ 9 ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อการรวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มแม่บ้าน เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่ม

ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือ รวมไปถึงการขายสินค้าออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ของดีประจำหมู่บ้านสันกำแพง

นวดแผนโบราณ

แม่เสาร์แก้ว คำแก้ว เริ่มต้นการนวดแผนโบราณโดยได้เรียนกับแม่ฟองจันทร์ ศรีเมือง เมื่อปี พ.ศ.2535 และได้ไปเรียนเพิ่มเติม วิชาแพทย์แผนโบราณ สาขาวิชาหัตถศาสตร์ ที่ วัดพระธาตุพนมฯ เมื่อปี พ.ศ.2547 ต่อมาได้ทำการสอนวิชานวดแผนโบราณให้แก่ผู้ที่สนใจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันแม่เสาร์แก้ว คำแก้ว ได้เปิดร้านนวดแผนโบราณที่บ้านเลขที่ 24 หมู่ 9 ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นการนวดแก้เส้น นวดเพื่อสุขภาพและนวดทั่วไป

เพื่อให้วิชาแพทย์แผนโบราณ สาขาหัตถศาสตร์ ยังคงอยู่แม่เสาร์แก้ว คำแก้ว ได้เปิดการเรียนการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจโดยมีหนังสือคู่มือการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจ

Moo.10

หมู่ที่ 10 บ้านสันธาตุ

Moo.10 , Ban San That

บริบทชุมชน

บ้านสันธาตุ หมู่ 10 แยกออกมาจากบ้านจําคาวตอง หมู่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ.2535 อาชีพส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน คือ เกษตรกรรม ทําไร่ ทําสวน ส่วนอาชีพเสริมคือ การจักสาน จุดเด่นในหมู่บ้าน คือ มีกลุ่มจักสาน และเย็บพรมเช็ดเท้า วัฒนธรรมมีพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ที่วัดสันธาตุ จะมีวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน 5 จะมีการสรงน้ําพระธาตุ พระธาตุแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

ปราชญ์ชุมชน

พ่อทูน ไขทา (ผู้มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว)

เริ่มต้นการทําผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ในสมัยก่อนมีบิดาที่เคยทํากะลามะพร้าว พอมาตอนนี้กลัวว่าความรู้ด้านนี้จะสูญหายไป แล้วใน ปี พ.ศ.2554 จึงได้ลองลงมือทําและมีการฝึกฝนเองฝึกไปทีละนิด เมื่อก่อนเริ่มทําใหม่ๆ ยังไม่มีเครื่องมือมีแต่มีดที่นํามาขูดกันเอาเอง ต่อมาก็มีการไปซื้อเครื่องมือมาทํา และมีความคิดริเริ่มที่อยากให้ผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่ จึงมีการคิดค้นขึ้นมาเอง เช่น กระปุกออมสิน พวงกุญแจ ขณะนี้มีคนทําผลิตภัณฑ์ จากกะลามะพร้าวอยู่ 2 คนคือ พ่อทูน ไขทา กับพ่อตา ยะรัตน์ แบ่งกันทําอยู่ที่บ้านตนเอง แต่อยู่กลุ่มเดียวกัน เวลามีงานตําบลก็จะไปออกงานบ้าง ขึ้นอยู่กับทางองค์การบริหารส่วนตําบลจะพาไป ในบางครั้งก็มีไปนั่งขายที่ตลาดนัดคลองถม

ปราชญ์ชุมชน

พ่อตา ยะรัตน์ (ผู้มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว)

พ่อตารับความรู้มาด้านการทําผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวมาจากบิดา เมื่อประมาณ 30-40 กว่าปีที่แล้ว ในการทําผลิตภัณฑ์ก็จะทําตามที่ลูกค้าสั่ง จะเป็นผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เช่น ที่ตักเส้นก๋วยเตี๋ยว ที่ตักน้ําใส่ก๋วยเตี๋ยว ถ้วยก๋วยเตี๋ยว ช้อน เป็นต้น กะลามะพร้าวที่ใช้ส่วนใหญ่จะรับซื้อมาจากบ้านที่มีต้นมะพร้าว กะลาลูกเล็กๆ จะรับซื้อมาในราคาลูกละ 3-5 บาท บางครั้งคนขายใจดีจึงให้ฟรี ในการขายภัณฑ์จะมีคนมารับซื้อถึงที่อยู่บ้าง ขายตามตลาดนัดคลองถม ในบางครั้งมีออกงานโชว์บ้างตามที่องค์การบริหารส่วนตําบล มีการทําโครงการของบไปที่องค์การบริหารส่วนตําบล ที่มีงบสนับสนุนโครงการของชุมชน จึงได้งบมาแล้วนําไปซื้อเครื่องมือต่าง ๆ และทํามาจนถึงปัจจุบัน ​

ของดีประจำหมู่บ้านสันธาตุ

พระธาตุวัดสันธาตุ

สมัยก่อนที่จะสร้างวัดสันธาตุ รุ่นปู่ย่าตายายได้เล่าความเป็นมาว่าวัดสันธาตุเป็นสันเนินดอน มีก้อนอิฐโบราณที่เป็นพระธาตุซึ่งไม่ทราบว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยไหน ปัจจุบันได้สร้างพระธาตุตรงเจดีย์เก่าและจัดประเพณีในชุมชน คือ สรงน้ำพระธาตุ วัน 5 เป็ง ของทุกปี

การสรงน้ำพระธาตุทุกวัน 5 เป็ง ซึ่งเป็นเดือนของเมืองเหนือ เป็นประเพณีที่ยึดเหนี่ยวศูนย์รวมจิตใจของคนบ้านสันธาตุ

หมู่ที่ 11 บ้านสันโค้ง

Moo.11 , Ban San Khong

บริบทชุมชน

บ้านสันโค้งมีทั้งหมด 120 หลังคาเรือน มีการอาชีพหลัก คือการทํานา มีอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ทําพรมเช็ดเท้า และรับจ้างทั่วไปเป็นต้น เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ราบเหมาะกับการทํานาปลูกพืชสวน จุดเด่นและ กลุ่มอาชีพของหมู่บ้านสันโค้งคือ วัดสันโค้ง กลุ่มอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มเย็บพรมเช็ดเท้า มีประเพณีรดน้ําดําหัว ประเพณีลอยกระทง แห่แคร่ ดนตรีพื้นเมือง กลุ่มผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน กลุ่มปุ๋ย และกลุ่มทําน้ําพริก แคบหมู เป็นต้น

Moo.11

ของดีประจำหมู่บ้านสันธาตุ

น้ำบวยและประติมากรรมจากกะลามะพร้าวและไม้กวาดทางมะพร้าว

คนสมัยโบราณจะตักน้ำดื่มโดยใช้น้ำบวยจากกะลามะพร้าว ทัพพี ถ้วย จากกะลามะพร้าว และไม้กวาดทางมะพร้าวใช้ก้านในใบมะพร้าว รุ่นปู่ย่าอาจจะมีวัสดุอื่นมาทดแทน แต่ศิลปหัตกรรมที่ทำมือจากกะลามะพร้าวยังเป็นที่ต้องการของท้องตลาด เพราะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การรักษาไว้

ปัจจุบัน 2 ครอบครัว ซึ่งนายตา ยะรัตน์ และนายทูล ใขทา ได้ทำน้ำบวย ทัพพี ฯลฯ จากกะลามะพร้าว เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นศิลปหัตกรรมที่สามารถจัดโชว์ หรือขายเพื่อเป็นของที่ระลึกในงานต่างๆได้

ปราชญ์ชุมชน

แม่เอื้อย สมแยง (ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นเมือง จ๊อยซอ)

ประวัติการจ๊อยซอ เริ่มต้นจากได้เรียนการจ๊อยซอมาจากแม่แสงเอื้อย ช่างซอ ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตลงแล้ว เนื่องจากในสมัยนั้นแม่แสงเอื้อย ไม่มีผู้สืบทอดการจ๊อยซอ แม่เอื้อย สมแยง จึงไปเรียนรู้การจ๊อยซอเพื่อสืบทอดต่อจากแม่แสงเอื้อย ซอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน โดยแม่เอื้อยไป จ๊อยซอ ตามงานต่างๆ เช่น งานขององค์การบริหารส่วนตําบล งานประเพณี สงกรานต์ งานกินสลาก งานของสถานีอนามัย บทจ๊อยซอ ที่จ๊อยเป็นประจํา ได้แก่ จ๊อยปีใหม่ จ๊อยเจ้าสุวัตกับนางบัวคํา จ๊อยเหล้า บุหรี่ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้สืบทอดการจ๊อยซอ

ของดีประจำหมู่บ้านสันโค้ง

การทำพรมเช็ดเท้า

กลุ่มทำพรมเช็ดเท้า ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้น และยึดเป็นอาชีพเสริมจากการทำอาชีพหลัก คือเกษตรกรรม และต่อมาได้มีโอกาสไปดูงานการทำพรมเช็ดเท้า จึงได้มีความริเริ่มเย็บพรมเช็ดเท้ารูปแบบใหม่ๆ และปัจจุบันมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นพรมเช็ดเท้าใช้สอยในชีวิตประจำวันกันมากมาย เช่น พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า ของใช้ที่ทุกครัวเรือนต้องมี ทุกวันนี้พรมเช็ดเท้ามีลวดลายรูปแบบใหม่ๆมากมายให้เราเลือกใช้

อดีตผู้สูงอายุได้ทำการทอพรมเช็ดเท้า เพื่อไว้ใช้ในครัวเรือนหลังจากที่กลุ่มพัฒนาสตรีได้เข้าร่วมอบรมการเย็บพรมเช็ดเท้าจึงได้รวมตัวกัน จัดวัสดุเศษผ้าต่างๆมาลองทำเป็นสินค้าขายสู่ตลาด

ของดีประจำหมู่บ้านสันโค้ง

ปลานิล

ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมกินกันจำนวนมาก เพราะมีประโยชน์มาก หาซื้อง่ายนำมาปรุงอาหารจานอร่อยได้มากมายหลายเมนู สืบเนื่องจากประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าว เลี้ยงปลาเป็นส่วนใหญ่

จากเดิมเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในครอบครัว จากนั้นจึงเริ่มขยายบ่อเลี้ยงเป็นอาชีพขายสู่ตลาด ปีละ 2 ครั้ง เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว และเป็นแหล่งปลานิลส่งขายปีละหลายตัน

bottom of page